THE PAST &
THE FUTURE
เมื่อกล่าวถึงฝาแมนโฮล, ฝาท่อ, ฝาบ่อ, ฝาตะแกรง, และตะแกรงระบายน้ำ (Manhole) หลายคนอาจรู้สึกว่าเป็นเรื่องไกลตัว เพราะเป็นเพียงแค่ฝากลมๆ ที่ใช้สำหรับปิดท่อระบายน้ำเท่านั้น แต่แท้จริงแล้ว เรื่องราวของฝาท่อนี้กลับมีประวัติศาสตร์อันยาวนานมาตั้งแต่สมัยโรมันโบราณเลยทีเดียว นอกจากนั้นมันยังถูกพัฒนาทั้งรูปแบบ
วิธีการใช้งาน การสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อการใช้งานที่หลากหลายตามยุคสมัย รวมถึงถูกพัฒนาให้มีความสวยงามอีกด้วย
ฝาท่อเกิดขึ้นครั้งแรกในสมัยโรมันโบราณ หรือ 753 ปีก่อนคริสตกาล ในยุคนั้นการสร้างเมืองจะสร้างตามแนวแม่น้ำขนาดใหญ่เพื่อให้แหล่งน้ำสามารถหล่อเลี้ยงชาวเมืองได้ แต่ขณะเดียวกันก็เป็นเรื่องยากที่จะหลีกเลี่ยงอุทกภัยที่จะเกิดขึ้นต่อชาวเมืองที่อาศัยอยู่รอบๆ ได้ วิศวกรโรมันจึงแก้ปัญหาด้วยการสร้างท่อระบายน้ำไว้รอบเมือง ขณะเดียวกันวิศวกรก็ได้สร้างรูทางเข้าท่อระบายน้ำไว้สำหรับเข้าไปทำความสะอาด จึงก่อให้เกิด
‘ฝาท่อ’ ที่ใช้ปิดรูทางเข้านี้นั่นเอง
HISTORY BOOK
CAN TELL THE PAST,
SO DOES
MANHOLE COVER.
753 BC
1900s
สำหรับฝาท่อในยุคปัจจุบัน
คาดว่าเกิดขึ้นเมื่อสมัยศตวรรษที่ 19 เป็นต้นมา โดยผลิตขึ้นมาจากเหล็กหล่อคอนกรีตหรืออาจจะเป็นทั้งสองอย่างผสมกันส่วนใหญ่ฝาท่อมักได้รับการออกแบบ
มาให้แข็งแรงและมีนำ้หนักมากเพื่อ
รองรับน้ำหนักของรถที่วิ่งผ่านไปผ่านมาบนท้องถนนได้ และออกแบบมาเพื่อให้ยากต่อการที่
คนทั่วไปจะสามารถใช้อุปกรณ์ทั่วไปมาเปิดฝาท่อได้
จุดเริ่มต้นของศิลปะบนฝาท่อเกิดขึ้นในปี 1980 รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการขยายระบบการวางท่อระบายน้ำไปยังเมืองต่างๆ เพื่อป้องกันปัญหาเกี่ยวกับระบบ
น้ำแต่เกิดการต่อต้านจากชาวบ้านทางรัฐบาลจึงคิดกุศโลบายเพื่อให้ชาวบ้านเห็นพ้องต้องกันด้วยการทำระบบระบายน้ำอันน่ารังเกียจให้สวยงามมากขึ้น จึงเกิดการออกแบบฝาท่อให้มีลวดลายแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และสะท้อนถึงเอกลักษณ์ในวิถีชีวิตของชุมชนนั้นๆ จนกลายเป็นศิลปะบนฝาท่อที่โด่งดังไป
ทั่วโลก
1980
1989
เมื่อวันที่ 19 มกราคม 1989 จู่ๆ ฝาท่อ 3 ฝาที่อยู่ใกล้กับปั๊มน้ำมันแห่งหนึ่งบนถนนเซนต์ ชาร์ลส ที่ชิคาโก้ก็เกิดระเบิดขึ้นอย่างรุนแรง ทำให้ฝาทั้ง 3 ฝาถูกแรงอัดดันปลิวลอยขึ้นเหนือพื้นหลายเมตรมีการตั้งข้อสังเกตว่าการระเบิดครั้งนี้น่าจะมีสาเหตุจากความดันภายในท่อผสมกับกระแสไฟฟ้าขัดข้องจากระบบ
ไฟภายในท่อ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นเหตุการณ์ฝาท่อระเบิดยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในหลายเมืองของสหรัฐเอมริกา
( ที่มา : Chicago Tribune, May 30, 1937. )
ปัจจุบันมีการพัฒนาฝาท่อไปในหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการคิดค้นวัตถุดิบในการผลิตใหม่
รวมถึงการพัฒนาด้านประโยชน์ใช้สอยให้มากกว่าแค่การปกปิดท่ออีกด้วย เพราะทุกวันนี้ฝาแมนโฮลได้รับการพัฒนาเพื่อใช้ในการรับส่งสัญญาณวิทยุด้วยการฝังไมโครชิพเข้าไปในฝาท่อที่อยู่ตามสถานที่ต่างๆ เพื่อใช้ในการเชื่อมต่อสัญญาณวิทยุสำหรับการติดต่อสื่อสาร และในอนาคต
ฝาแมนโฮลเหล่านี้ก็จะถูกพัฒนาใช้งานมากขึ้นต่อไป
หลังจากที่ บริษัท แม็ค เอช แอนด์ เอช (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับฝาแมนโฮลและตะแกรงระบายน้ำมาตลอดระยะเวลาหลายปีจนสามารถสร้างความไว้วางใจจากลูกค้าได้เป็นอย่างดีจึงถึงเวลาที่บริษัทจะก้าวไปอีก
ขั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าอย่างครอบคลุมมากขึ้น พร้อมกับภาพลักษณ์ใหม่ที่มีความทันสมัยเพื่อตอบสนองปรัชญาการทำงานที่กระฉับกระเฉงและไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่
งานออกแบบฝาท่อของประเทศญี่ปุ่นนั้นได้รับการกล่าวถึงอย่างกว้างขวาง จนกระทั่วได้มีการรวบรวมภาพถ่ายฝาท่อที่สวยงามและมีความน่าสนใจจากทั่วประเทศญี่ปุ่น เพื่อตีพิมพ์และออกวางจำหน่ยหลายต่อหลายเล่ม และเล่มที่มีความสวยงามและสำคัญที่สุดอีกเล่มหนึ่งก็คือ หนังสือชื่อ Dezain Manhoru Hyakusen: A Tour of Discovery of 100 Fine Designs in Japanese Manhole Covers โดย Osamu และ Kazuko Ikegami
บริษัท แม็ค เอช แอนด์ เอช (ประเทศไทย) จำกัด ก่อตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ.2549 เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย จากนั้นบริษัทเดินหน้าการเป็นผู้นำด้านฝาแมนโฮลและตะแกรงระบายน้ำด้วยการผลิตและจัดจำหน่ายสินค้าคุณภาพสูง สร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ อย่างสม่ำเสมอ
FUTURE
2015
2014
2006
2004
ในปี 2004 เมืองโกลกาตา ทางตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศอินเดีย มีการขโมยฝาท่อไปกว่า 10,000 ฝา ในระยะเวลาเพียง
2 เดือน แต่นั่นยังไม่ร้ายแรงเท่ากับประเทศจีน สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ในปี 2004 ฝาท่อจำนวนกว่า 240,000 ฝา ในตัวเมืองปักกิ่งถูกขโมยไปอย่างไร้ร่องรอย เบื้องต้นมีการค้นพบว่าฝาท่อเหล่านี้ถูกนำไปขายให้กับพ่อค้าท้องถิ่นที่นำฝาท่อมาตัดเป็นเศษๆก่อนจะส่งต่อทางเรือไปยังประเทศไต้หวัน มองโกเลีย และคีร์กีซสถาน ขณเดียวกันในแถบอเมริกาและยุโรปเองก็ประสบปัญหาโจรขโมยฝาท่อเช่นกัน
The Beginning of Mc H&H
ศิลปะบนฝาท่อของญี่ปุ่นโด่งดังไปทั่วโลก ตัวอย่างฝาท่อที่สะท้อนประวัติศาสตร์ เช่น ฝาท่อลายหมู่บ้าน
ชิราคาว่า จังหวัดกิฟุ ที่ถ่ายทอดลวดลายภาพบ้านญี่ปุ่นที่ทำด้วยไม้ ไม่ใช้ตะปูแบบดั้งเดิม ฝาท่อลายน้ำตก
มิโน จังหวัดโอซาก้า หนึ่งในน้ำตกที่สวยที่สุดในฤดูใบไม้ร่วง หรือฝาท่อลายภูเขาไฟฟูจิ สถานที่ท่องเที่ยวยอดนิยมอันดับหนึ่งของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเป็นการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้นยังมีฝาท่อลายที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับสถานที่โดยตรงอย่างลายนักดับเพลิง ทีมเบสบอล หรือแม้กระทั่งตัวการ์ตูน
มังงะที่เป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่เอกลักษณ์ของญี่ปุ่นไปทั่วโลก
โดยทั่วไปฝาท่อมักผลิตขึ้นในโรงหล่อเหล็ก แต่ศิลปะบนฝาท่อของประเทศญี่ปุ่นคือหน้าตาของเทศบาล
เมืองทุกแห่ง จึงมีการออกแบบร่วมกันระหว่างศิลปิน เทศบาล และโรงหล่อเหล็ก เพื่อให้ผลงานออกมาสวยงามและสร้างสรรค์จนเป็นที่พอใจของทุกฝ่าย ซึ่งแต่เดิมการออกแบบลวดลายจะใช้ช่างฝีมือแกะด้วยมือ แต่ปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยีสร้างแม่พิมพ์เพื่อหล่อแบบขึ้นมา และยังมีการเพิ่มสีสันด้วยเทคนิคการสกรีนสีเข้าไป
กระแสของศิลปะบนฝาท่อของญี่ปุ่นได้โด่งดังไปไกล จนมีศิลปินชาวอังกฤษนามว่า Remo Camerota
ได้ตระเวนถ่ายภาพฝาท่อทั่วประเทศญี่ปุ่นได้กว่า 2,700 แบบ จนออกมาเป็นหนังสือที่ชื่อว่า Drianspotting ที่รวบรวมภาพถ่ายฝาท่อไว้มากที่สุด รวมถึงหนังสือชื่อ DezainManhoru Hyakusen: A Tour of Discovery of 100 Fine Design in Japanese Manhole Covers โดย Osamu และ Kazuko Ikegami ซึ่งทั้งสองเล่มได้สะท้อนถึงอิทธิพลของศิลปะที่นำมาผูกโยงกับเอกลักษณ์ของชุมชน จนกลายเป็นปรากฏการณ์ระดับโลกเลยทีเดียว